การบริหารจัดการคณะกรรมการจริยธรรมฯ  
คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน คือ คณะบุคคลที่มาร่วมกันพิจารณาและให้การรับรองโครงการวิจัยที่จะดำเนินการกับ “คน (มีชีวิต) ที่เข้าร่วมวิจัย” หรือ “ใช้ข้อมูล/สิ่งที่ได้มาร่างกายของคน(ทั้งที่ยังมีชีวิตหรือเสียชีวิตแล้ว)ที่ระบุเจ้าของได้ว่าเป็นของคนผู้ใด มาใช้ในการวิจัย เพื่อสร้างความรู้ใหม่ ซึ่งสามารถเผยแพร่สู่สาธารณะได้ (แม้ว่าในที่สุดแล้วจะได้รับการเผยแพร่หรือไม่ก็ตาม)
Any social science, biomedical, behavioral, or epidemiological activity that entails systematic collection or analysis of data with the intent to generate new knowledge in which human beings:
(1) are exposed to manipulation, intervention, observation or other interaction with investigators, either directly or through alteration of their environment;
or
(2) become individually identifiable through investigators’ collection, preparation or use of biological material or medical or other records.
ถอดความเป็นภาษาไทยโดยสรุป
การวิจัยในคน ครอบคลุมการวิจัยทุกประเภท ที่ดำเนินการกับคนที่ยังมีชีวิตด้วยวิธีการต่างๆ หรือแม้กระทั่งการสังเกตการณ์ไม่ได้กระทำโดยตรง เพื่อเก็บข้อมูลมาใช้เพื่อการวิจัย หรือนำข้อมูล/สิ่งส่งตรวจต่างๆที่มีข้อมูลระบุตัวตนของเจ้าของได้มาใช้ในกระบวนการวิจัย ผลลัพธ์จากการวิจัยมุ่งหมายที่จะสร้างองค์ความรู้ใหม่เพื่อประโยชน์ต่อสังคมโดยรวม
คณะกรรมการฯ มีองค์ประกอบ 2 กลุ่มบุคคล ได้แก่
  กรรมการ(สายวิชาการ) ทำหน้าที่พิจารณาโครงการที่เสนอเข้ามาด้วยความเชี่ยวชาญทางวิชาการ - เพื่อลงความเห็นว่าสามารถรับรองให้ดำเนินการได้หรือไม่ และ
 
  เจ้าหน้าที่(สายสนับสนุน) ทำหน้าที่บริหารจัดการข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการ (จัดส่งให้กรรมการเพื่อการพิจารณา-จัดส่งความเห็นของกรรมการให้ผู้วิจัย, จัดเก็บเป็นหลักฐาน-สืบค้นมาใช้อ้างอิงจัดการทำลายเมื่อพ้นภาระการกำกับดูแล) จัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับโครงการวิจัยไว้เพื่อการสืบค้น ตรวจสอบ อ้างอิง และทำลายเมื่อครบกำหนด (ภายหลังที่ผู้วิจัยแจ้งปิดโครงการแล้ว 3 ปี)
 
กรรมการ - มาจากบุคลากรสายวิชาการที่ได้รับการแต่งตั้งจากผู้บริหาร ปฏิบัติภารกิจตามวาระที่กำหนด
เจ้าหน้าที่ – บุคลากรที่ได้รับมอบหมายหน้าที่สนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการ ปฏิบัติหน้าที่เต็มเวลาตามสัญญาจ้าง
การรับพิจารณาโครงการ คิดค่าใช้จ่ายหรือไม่ ถ้าคิดค่าธรรมเนียม คิดเท่าไหร่ และอย่างไร
งบประมาณของสำนักงานได้มาจากไหน
มีค่าตอบแทนสำหรับคณะกรรมการไหม
คณะกรรมการฯ ของสถาบันไม่มีค่าตอบแทนในการอ่านพิจารณาโครงการ แต่สำนักงานคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคนสามารถออกใบรับรองภาระงานในการอ่านพิจารณา เพื่อให้กรรมการไปยื่นแสดงภาระงานที่เพิ่มขึ้น สามารถทำได้หรือไม่
workload ของคณะกรรมการจริยธรรมมีเกณฑ์มาตรฐานหรือไม่ ว่าควรเป็นเท่าใดต่อจำนวนงานวิจัย และต้องเป็นงานในหน้าที่รับผิดชอบหลักหรือไม่
จำนวนเจ้าหน้าที่ มีวิธีคิดไหมว่าควรจะมีกี่คน
การส่งเอกสารเพื่อพิจารณาจริยธรรมฯ และจัดเก็บเอกสาร 3 ปี หลังรับรอง สามารถปรับเปลี่ยนเป็น digital documents หรือส่งผ่านระบบ online ได้ไหม
เอกสารที่ใช้ในประชุมแต่ละครั้ง ใช้เป็นกระดาษหรืออิเล็กทรอนิกไฟล์
จำเป็นต้องมีแบบฟอร์มเป็นภาษาอังกฤษหรือไม่
นักวิจัย 1 ท่านสามารถขอการรับรองโครงการวิจัยในมนุษย์ได้กี่โครงการในช่วงเวลา 1 ปีการศึกษา
การส่งโครงการวิจัยมาเพื่อรับการพิจารณา สำนักงานจะออกเลขรับเมื่อครบตามกำหนดใช่ไหม และมีการแจ้งกลับไหมว่ารับเรื่องแล้ว
โครงการที่จะส่งให้กรรมการพิจารณาทั้ง 3 ประเภท จะจัดส่งพร้อมกันเมื่อปิดรับโครงการในรอบนั้น ๆ ใช่ไหม
Time line สำหรับโครงการแต่ละประเภท สำหรับ reviewer กี่วัน
มีระบบแจ้งเตือน mile stone กำหนดระยะเวลาในขั้นตอนต่างๆ และขั้นตอนต่อไปที่ต้องดำเนินการต่อ สำหรับผู้วิจัยและเจ้าหน้าที่
ใช้เวลาแจ้งกลับนานเท่าไร
การต่ออายุ CoA นั้น มีระยะเวลากำหนดไหมว่าต่อได้ครั้งละกี่ปี และสามารถต่อได้กี่ครั้ง
แจ้งปิดโครงการเมื่อเก็บข้อมูลเสร็จโดยไม่ต้องรอการจัดทำเล่มวิจัยเสร็จใช่ไหม
กรณีแจ้งปิดโครงการแล้ว ตีพิมพ์แล้ว แต่อยากทำในประเด็นอื่นต้องการเพิ่มเติมแบบสอบถาม จะต้องทำอย่างไรกับโครงร่างวิจัยเดิม
กรณีนักวิจัยขอเปลี่ยนชื่อโครงการภายหลังได้ใบรับรองแล้ว โดยไม่มีการแก้ไข protocol ทางคณะกรรมการจำเป็นต้องออกใบรับรองให้ใหม่หรือไม่ หากให้นักวิจัยแจ้งเพื่อทราบเพียงอย่างเดียวได้หรือไม่
การประสานงานระหว่างคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน กรณีโครงการวิจัยแบบพหุสถาบัน หรือ บูรณาการข้ามศาสตร์
 
นักวิจัยทำงานกับต่างประเทศหรือต่างสถาบัน ผ่านคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน (Ethics Committee- EC) ของต่างประเทศหรือสถาบันที่สังกัดแล้ว ต้องมาผ่านการรับรองจากคณะกรรมการฯของสถาบันเราอีกหรือไม่ ในกรณีใด
งานวิจัยที่เป็นร่มใหญ่ ทำวิจัยในหลายพื้นที่ แต่ละที่อาจมีรายละเอียดที่ EC พิจารณาให้ปรับแก้ที่ไม่เหมือนกัน ทางผู้วิจัยจะปฏิบัติอย่างไร หรือ EC ในแต่ละที่จะพิจารณาอย่างไรดี
มีงานวิจัยที่เก็บข้อมูลจากหลายพื้นที่ โครงการหลักได้รับการรับรองจากมหาวิทยาลัยแล้ว ผู้เก็บข้อมูลในพื้นที่นั้นๆ ต้องส่งเรื่องขอรับรองแบบไหน
โครงการวิจัยร่วมระหว่างสถาบัน โดยสถาบันที่ 1 ดำเนินการทางคลินิกและผ่าน EC Full board ของสถาบันที่ 1 แล้ววางแผนส่ง specimen มาวิเคราะห์ในสถาบันที่ 2 คำถามคือ EC สถาบันที่ 2 ต้องพิจารณาโครงการแบบ full board ซ้ำหรือไม่ หรือมีแนวทางปฏิบัติอย่างไร ขอ consent ผู้ป่วยไหม
โครงร่างวิจัยของ นศ.ที่เป็นโครงการย่อยในโครงการใหญ่ของอาจารย์ที่ปรึกษา จะสามารถส่งขอรับการพิจารณาด้านจริยธรรมการวิจัยในคนเพื่อเก็บข้อมูลก่อนโครงการใหญ่ ที่ซึ่งอาจารย์ที่ปรึกษายังไม่ได้ขอรับการพิจารณาด้านจริยธรรมการวิจัยในคนได้หรือไม่
หน่วยงานภายนอกที่ไม่มีกรรมการจริยธรรม มาขอความร่วมมือให้หน่วยงานของเรารับรองจริยธรรม โดยส่งบุคลากรมาเป็นกรรมการร่วม จะมีแนวปฏิบัติการพิจารณางานวิจัยภายนอกอย่างไรบ้าง
โครงการที่ขอทุน แนะนำให้ขอรับรองตอนไหน (ก่อนยื่นขอทุน พร้อมขอทุน หลังจากได้ทุนแล้ว ฯลฯ) เนื่องจากมีกรณีว่า ทุนขอไปแล้ว เมื่อคณะกรรมการจริยธรรมฯ (Institutional Review Board – IRB) ให้ปรับ Methodology ทำให้ค่าใช้จ่ายเปลี่ยน (อาจมากขึ้น)
บางหน่วยงานให้ข้อมูลว่านักวิจัยไม่มีสิทธิตัดสินเองว่างานของตนเป็นงานวิจัยในคนหรือไม่ ต้องให้คณะกรรมการเป็นผู้บอกเท่านั้น อาจารย์มีความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่าอย่างไรบ้าง
กรณีที่เป็นงานวิจัยในห้องปฏิบัติการที่ไม่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ มาขอเอกสารยืนยันจาก EC ย้อนหลังเพื่อส่งตีพิมพ์ผลงานว่าเป็น nonhuman research ต้องดำเนินการรวมโครงการนี้เข้าในระบบการพิจารณาหรือไม่ หรือสามารถออกเอกสาร
รายงานผู้ป่วย (case report) ผู้รายงานต้องการเผยแพร่ข้อมูล ในวารสารที่ต้องการการรับรองจริยธรรมวิจัยในมนุษย์ จึงขอ CoA หลังจากเก็บข้อมูลทุกอย่างไปแล้ว สามารถดำเนินการได้ไหม
การสังเคราะห์ผลงานวิจัยที่ศึกษาผู้ป่วยโรคเอดส์ โดยใช้ Meta analysis ซึ่งไม่ได้รวบรวมข้อมูลจากผู้ป่วย ผู้วิจัยจำเป็นต้องขออนุญาตเจ้าของผลงานวิจัยที่นำมาสังเคราะห์หรือไม่
Cadaver ที่ได้แจ้งความประสงค์บริจาคร่างกายเพื่อการศึกษาแล้ว ต้องขอ consent หรือไม่
ถ้าเก็บข้อมูลจากเวชระเบียนของผู้ป่วย retrospective ต้องขอ inform consent ผู้ป่วยใช่ไหม แล้วถ้าเป็นการศึกษาในผู้ป่วยที่เสียชีวิต ผู้วิจัยต้องขออนุญาตใคร
โครงการวิจัยต่อไปนี้จำเป็นต้องขอการรับรองหรือไม่
หากเกิด protocol deviation แล้วนักวิจัยไม่รายงานมา จะทราบได้อย่างไร
โครงการวิจัยที่ต่อยอดจากโครงการเดิม ซึ่งโครงการเดิมกลุ่มเป้าหมาย 40 ราย และในโครงร่างของโครงการใหม่ที่ต่อยอดระบุกลุ่มเป้าหมาย 40 ราย ได้รับการรับรอง กลุ่มเป้าหมาย 40 รายเช่นกัน แต่พอเก็บข้อมูลจริงเหลือกลุ่มเป้าหมายเหลือ 38 ราย เนื่องจากเสียชีวิต (จากสาเหตุโรคประจำตัว ไม่ใช่จากวิจัย) แบบนี้จะต้องรายงานต่อ IRB อะไรอย่างไรดี
กลุ่มเป้าหมายที่ระบุในโครงร่างเดิมเท่ากับ 40 ราย ต่อมาได้รายงานต่อ IRB เหลือ 38 ราย (จากสาเหตุโรคประจำตัว ไม่ใช่จากวิจัย) แล้วตอนสรุปปิดโครงการ ต้องระบุขนาดกลุ่มเป้าหมายตามโครงร่างที่ได้รับการรับรองกี่ราย

โปรดพิจารณาให้ความอนุเคราะห์ทำแบบประเมินเพื่อสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อการให้บริการของศูนย์ส่งเสริมจริยธรรมการวิจัย เพื่อนำผลการประเมินไปพัฒนาปรับปรุงแก้ไขงานให้มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง