Q: |
บางหน่วยงานให้ข้อมูลว่านักวิจัยไม่มีสิทธิตัดสินเองว่างานของตนเป็นงานวิจัยในคนหรือไม่ ต้องให้คณะกรรมการเป็นผู้บอกเท่านั้น อาจารย์มีความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่าอย่างไรบ้าง | |
A: |
นักวิจัยทุกท่านเป็นนักวิชาการ เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ดังนั้นจึงสามารถที่จะตัดสินได้ว่าโครงการของตนเป็นโครงการวิจัยในคนหรือไม่หากไม่มีอคติ การที่สถาบันวิจัย / มหาวิทยาลัยจะมอบให้เป็นภาระกับคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคนประจำสถาบันเป็นผู้ลงความเห็นอาจไม่จำเป็น หากมีการตั้งเกณฑ์ที่ชัดเจนว่าขอบเขตของการวิจัยในคนที่ต้องกำกับดูแลโดยคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน คืออะไร | |
นักวิจัยย่อมสามารถใช้เกณฑ์เป็นแนวทางตัดสินว่าโครงการของตนเข้าข่ายโครงการวิจัยในคนที่ต้องผ่านการรับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมฯหรือไม่ ได้ด้วยวิจารณญาณของตนเอง ซึ่งวิธีการจัดทำเกณฑ์ดังกล่าวเป็นวิธีการที่ใช้กันในนานาอารยะประเทศ ช่วยลดภาระแก่คณะกรรมการจริยธรรมฯ ซึ่งมีทรัพยากรสนับสนุนการทำงานจำกัดอยู่แล้ว โครงการที่ดำเนินการกับคนที่มีชีวิตโดยตรงอาจตัดสินได้ไม่ยาก |
ว่าเป็นการวิจัยในคน แต่โครงการประเภทที่ใช้ข้อมูลหรือสิ่งส่งตรวจของคนที่เก็บไว้ในคลัง ซึ่งมักจะเป็นการศึกษาข้อมูลย้อนหลัง จะเป็นปัญหาในการตัดสินมากกว่า อย่างไรก็ตาม หากเป็นกระบวนการที่ก้ำกึ่งตัดสินได้ยาก ก็แนะนำให้นักวิจัยส่งมาขอคำปรึกษาจากคณะกรรมการจริยธรรมฯ เพื่อลดอคติ ลดความผิดพลาดได้ |
โปรดพิจารณาให้ความอนุเคราะห์ทำแบบประเมินเพื่อสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อการให้บริการของศูนย์ส่งเสริมจริยธรรมการวิจัย เพื่อนำผลการประเมินไปพัฒนาปรับปรุงแก้ไขงานให้มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง