โครงการ |
การพิจารณาจาก IRB |
เหตุผล |
ต้องผ่าน |
ไม่ต้องผ่าน |
การทำสูตรอาหารทั่วไป |
|
|
ไม่มีกระบวนการทำกับคน |
การสังเคราะห์ผลงานวิจัยที่ศึกษาผู้ป่วยโรคเอดส์ โดยใช้ Meta analysis |
|
|
เป็นการใช้ข้อมูลที่เผยแพร่สู่สาธารณะแล้ว และไม่มีข้อมูลที่บ่งชี้ตัวบุคคลได้ |
การวิจัยทางรังสีที่ใช้หุ่นทดลองแทนคน |
|
|
ไม่มีกระบวนการที่ทำกับคน |
พัฒนาสูตรตำรับเช่น ครีมทาผิว แล้วทดสอบผลิตภัณฑ์เบื้องต้น เช่น ความเหนอะหนะ การเกลี่ย เนื้อสัมผัส ด้วยตัวผู้วิจัยเองหรือกับทีมวิจัยเพื่อใช้เป็นแนวทางในการปรับสูตร |
|
|
การทดสอบเบื้องต้น แม้จะทำกับคน แต่เป็นการกระทำกับตัวผู้วิจัยเอง หรือคณะผู้วิจัยทดสอบกับตัวเอง แม้จะเป็นการวิจัยในคน (human research) แต่ไม่อยู่ในกำกับดูแลของคณะกรรมการจริยธรรมฯ |
การพัฒนาอุปกรณ์การสอน โดยให้นักเรียนที่นักวิจัยสอนทำแบบทดสอบความรู้ก่อนและหลังใช้ชุดอุปกรณ์ที่พัฒนาขึ้น เพื่อดูว่าอุปกรณ์ที่พัฒนาขึ้นสามารถช่วยให้นักเรียนมีความเข้าใจในเนื้อหามากขึ้นหรือไม่ |
|
|
เป็นการกระทำกับคนที่เป็น vulnerable subjects เนื่องจากมี dependent relationship กับผู้วิจัย ต้องได้รับการรับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมฯ ก่อนเริ่มดำเนินการ ในกรณีที่นักเรียนอายุไม่ครบ 18 ปีบริบูรณ์ นอกจากขอความยินยอมจากนักเรียนแล้ว ยังจะต้องขอความยินยอมจากผู้ปกครองด้วย |
การศึกษาเครืองมือแพทย์ในหุ่นจำลองทางการแพทย์ โดยมีการทดสอบกับนิสิตนักศึกษา |
|
|
ต้องได้รับการรับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมฯ ด้วยเหตุผลเดียวกับการทำวิจัยกับนักเรียน |
งานวิจัยของนักเรียน/นักศึกษาปริญญาตรี |
|
|
หากเป็นการกระทำกับคน/ใช้ individually identifiable data ของคน จัดเป็นการวิจัยในคน ที่ต้องได้รับการรับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมฯ ทั้งสิ้น ไม่ว่าสถานภาพของผู้วิจัยจะเป็นนักเรียน/นักศึกษาระดับใดก็ตาม |
การวิจัยแบบ Participatory Action Research (PAR) เก็บข้อมูลในชุมชน |
|
|
มีกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับคนในชุมชนให้มาร่วมทำวิจัยกับนักวิจัย จัดเป็นการวิจัยในคนประเภทหนึ่ง |