เรื่อง การประสานงานระหว่างคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคนกรณีโครงการวิจัย
  แบบพหุสถาบัน หรือ บูรณาการข้ามศาสตร์

Q:  

นักวิจัยทำงานกับต่างประเทศหรือต่างสถาบัน ผ่านคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน (Ethics Committee- EC) ของต่างประเทศหรือสถาบันที่สังกัดแล้ว ต้องมาผ่านการรับรองจากคณะกรรมการฯของสถาบันเราอีกหรือไม่ ในกรณีใด

A:  

ผู้ที่จะต้องดำเนินการขอรับการรับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมฯ คือหัวหน้าโครงการวิจัย (Principal investigator) ซึ่งจะต้องขอรับการพิจารณารับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมฯของสถาบันที่ตนสังกัดเป็นสำคัญ สำหรับการรับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมฯที่ผู้วิจัยร่วม (Co-investigators) สังกัด อาจเป็นไปได้ ดังต่อไปนี้

      

หากสถานที่วิจัย (Research site) อยู่ต่างประเทศ ผู้วิจัยไทยเป็น Co-investigators มีส่วนช่วยดำเนินการวิจัยในส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับผู้เข้าร่วมวิจัย (human subjects) โดยตรง เช่น การระดมสมองในการร่างโครงการวิจัย การวิเคราะห์วิจารณ์ผลการวิจัยบางส่วน เป็นต้น อาจไม่จำเป็นที่จะต้องขอการรับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมฯที่ตนสังกัดซ้ำอีก เพื่อลดความซ้ำซ้อน

      

หากสถานที่วิจัยอยู่ในประเทศไทย ผู้วิจัยไทยเป็นผู้มีส่วนสำคัญในการเชิญชวนผู้เข้าร่วมวิจัย (recruitment) และ/หรือ ขอความยินยอมในการเข้าร่วมวิจัย (informed consent process) หรือ ดำเนินกระบวนการวิจัย จำเป็นจะต้องขอการรับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคนที่ผู้วิจัยไทยสังกัด เนื่องจากบริบทในต่างประเทศแตกต่างจากสถานที่วิจัยในประเทศไทย ประเด็นอ่อนไหวทางขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรม รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง คณะกรรมการจริยธรรมฯ ของสถานที่วิจัยจะเข้าใจได้ดีกว่า ซึ่งจะสามารถพิทักษ์สิทธิ์และสวัสดิภาพของผู้เข้าร่วมวิจัยได้ดีขึ้น

      

ดังนั้น ในการพิจารณาว่าควรจะขอการรับรองจากคณะกรรมการฯใด ควรคำนึงถึงหัวหน้าโครงการวิจัยและสถานที่วิจัยเป็นสำคัญ คณะกรรมการจริยธรรมฯ มีหน้าที่หลักในการพิทักษ์สิทธิและสวัสดิภาพ

      

ของผู้เข้าร่วมวิจัยเป็นสำคัญเช่นกัน หากมีการพิจารณารับรองโครงการวิจัยโดยคณะกรรมการจริยธรรมฯ มากกว่า 1 คณะ จะต้องมีการประสานงานระหว่างคณะกรรมการฯ ด้วย โดยเฉพาะเมื่อมีความเห็นที่แตกต่างกัน มิฉะนั้นผู้วิจัยจะไม่สามารถดำเนินการได้

 
 

โปรดพิจารณาให้ความอนุเคราะห์ทำแบบประเมินเพื่อสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อการให้บริการของศูนย์ส่งเสริมจริยธรรมการวิจัย เพื่อนำผลการประเมินไปพัฒนาปรับปรุงแก้ไขงานให้มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง