Collaborative Institutional Training Initiative (CITI Program) เป็นโปรแกรมประเภท Website E-Learning ที่พัฒนาขึ้นจากความร่วมมือของ 10 สถาบันวิจัย/สถาบันการศึกษา เมื่อปี ค.ศ. 2000 มีวัตถุประสงค์ที่จะให้ความรู้แก่ ผู้เกี่ยวข้องกับการวิจัยในคนได้ศึกษาด้วยตนเองเพื่อให้ทราบกฎเกณฑ์ทางจริยธรรมการวิจัยในคนก่อนที่จะเริ่มดำเนินการวิจัย โดยเมื่อเริ่มพัฒนานั้นมีเนื้อหาที่ครอบคลุมงานวิจัยทางชีวการแพทย์แต่เพียงอย่างเดียว ต่อมาในปีค.ศ. 2004 จึงได้เพิ่มเติมเนื้อหาให้เหมาะกับผู้ดำเนินการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ด้วย
Go to CITI Program →ขั้นตอนการสมัครเข้าใช้งาน CITI Program (เฉพาะบุคคลภายในมหาวิทยาลัยมหิดล)
Step to Registration →หลักสูตร Responsible Conduct of Research (RCR) ของ CITI PROGRAM เป็นหลักสูตรสำหรับนักวิจัยทุกคน เพื่อให้มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสิ่งที่ควรและไม่ควรปฏิบัติในการดำเนินการวิจัย รวมถึงการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัย ซึ่งมีทั้งหมด 6 สาขา ให้นักวิจัยเลือกศึกษาด้วยตนเองให้เหมาะสมกับประเภทงานที่เกี่ยวข้อง สาขาใดสาขาหนึ่ง หรือมากกว่า 1 สาขา
Registration to RCR Course →หลักสูตร Human Subjects Research (HSR) ของ CITI PROGRAM เป็นหลักสูตรสำหรับนักวิจัยทุกคน เพื่อให้มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับหลักจริยธรรมการวิจัยในคน ซึ่งมีทั้งหมด 9 สาขา แบ่งตามศาสตร์การวิจัยได้แก่ การวิจัยทางสังคมศาสตร์ และ การวิจัยทางชีวการแพทย์ และประเภทผู้เข้าอบรมได้แก่ ผู้ปฏิบัติงานด้านจริยธรรมการวิจัยในคน นักวิจัยทั่วไป นักศึกษา และผู้ปฏิบัติงานทางคลินิก ผู้อบรมสามารถเลือกศึกษาด้วยตนเองให้เหมาะสมกับประเภทงานที่เกี่ยวข้อง สาขาใดสาขาหนึ่ง หรือมากกว่า 1 สาขา
Thai Language → English Language →คู่มือการใช้งาน CITI PROGRAM จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติให้แก่บุคคลภายในมหาวิทยาลัยมหิดลที่ต้องการเข้าศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองผ่าน CITI PROGRAM
Thai Language → English Language →ผู้ที่ผ่านการเรียนรู้จาก CITI Program ถือว่าเทียบเท่ากับการเข้ารับการฝึกอบรมเรื่องจริยธรรมการวิจัยในคนที่จัดขึ้นภายในมหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งนักวิจัยควรได้รับความรู้เรื่องจริยธรรมการวิจัยในคนด้วยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งก่อนเริ่มกระบวนการวิจัยในคน เมื่อผู้ศึกษาทำแบบทดสอบครบตามกติกาที่ตั้งไว้ก็จะสามารถพิมพ์ใบประกาศนียบัตรได้ด้วยตนเอง และนำมาใช้ประกอบการยื่นขอรับการพิจารณารับรองด้านจริยธรรมการวิจัยในคนภายในมหาวิทยาลัยมหิดลได้ต่อไป
Thai Language → English Language →ใบประกาศนียบัตรของ CITI PROGRAM ที่สามารถใช้ประกอบการขอรับพิจารณาด้านจริยธรรมการวิจัยในคนได้ ต้องเป็นหลักสูตร Human Subjects Research (HSP Course) สาขาที่ตรงตามการดำเนินงานวิจัย
Thai Language → English Language →นักวิจัยจำเป็นต้องผ่านการเรียนรู้ขั้นพื้นฐานทางด้าน GCP จาก CITI PROGRAM ในกลุ่มหัวข้อ Researcher Drug เรื่อง The CITI Good Clinical Practice Course for Clinical Trials Involving Drugs and Biologics (ID: 14613) หรือ Researcher Device เรื่อง The CITI Good Clinical Practice Course for Clinical Investigations of Devices (ID: 14633) สำหรับนักวิจัยที่เคยผ่านการเรียนรู้ขั้นพื้นฐานดังกล่าวแล้วจำเป็นต้องผ่านการเรียนรู้ทางด้าน GCP ในหมวดการเรียนรู้ GCP Refresher
Read More →โปรดพิจารณาให้ความอนุเคราะห์ทำแบบประเมินเพื่อสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อการให้บริการ
ของศูนย์ส่งเสริมจริยธรรมการวิจัย เพื่อนำผลการประเมินไปพัฒนาปรับปรุงแก้ไขงานให้มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง