Q:  

Subject withdraw กับ drop out ต่างกันยังไง

A:  

Withdraw หมายถึงการถอนตัวออกจากการวิจัย ซึ่งผู้กระทำเป็นไปได้ 2 ทางคือ

      

1. ผู้เข้าร่วมถอนตัวเองเมื่อไม่สมัครใจจะเข้าร่วมวิจัยต่อ ซึ่งเป็นสิทธิ์ของผู้เข้าร่วมวิจัยทุกคน สำหรับเหตุผลที่ถอนตัว ไม่จำเป็นต้องแจ้งต่อผู้วิจัย อาจจะเป็นเพราะไม่มีเวลาเพียงพอ, กังวลกับความไม่ปลอดภัยของกระบวนการวิจัย, หรือกระบวนการวิจัยรบกวนผู้เข้าร่วมวิจัยมากเกินไป เช่น มีกระบวนการวิจัยที่ซับซ้อน ระยะเวลาที่ต้องเข้าร่วมวิจัยยาวนานมาก ฯลฯ

      

2. ผู้เข้าร่วมวิจัยเชิญให้ผู้เข้าร่วมวิจัยบางคนออกจากการวิจัยตามเกณฑ์การถอนตัวออกจากกระบวนการวิจัยเป็นรายบุคคล (Withdrawal criteria) ซึ่งต้องกำหนดไว้ล่วงหน้า และได้รับการรับรองจาก

      

    คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน โดยมีเหตุผล คือเพื่อป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้เข้าร่วมวิจัยรายนั้น หากเข้าร่วมการวิจัยต่อไป หรือ ผู้เข้าร่วมวิจัยบางรายเป็น confounder ของกระบวนการวิจัย เช่น ในกระบวนการสนทนากลุ่ม ผู้เข้าร่วมวิจัยบางคนรบกวนการแสดงความคิดเห็นของผู้ร่วมกระบวนการ หรือ ทำให้เกิดความขัดแย้งอย่างรุนแรงจนดำเนินกิจกรรมต่อไปไม่ได้ เป็นต้น

      

Drop out มีความหมายในทำนองเดียวกันกับการ withdraw ของผู้เข้าร่วมวิจัยระหว่างอยู่ในกระบวนการวิจัย

 
 

โปรดพิจารณาให้ความอนุเคราะห์ทำแบบประเมินเพื่อสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อการให้บริการของศูนย์ส่งเสริมจริยธรรมการวิจัย เพื่อนำผลการประเมินไปพัฒนาปรับปรุงแก้ไขงานให้มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง