Q: |
กรณี โอกาสเกิดโรค น้อยกว่า 1 ใน หมื่น แต่โรคที่เกิดขึ้นนี้โอกาสเสียชีวิตสูงมาก ดังนั้น เมื่อคำนวนกลุ่มตัวอย่างออกมาแล้ว สมมุติว่าต้องใช้สัก 30 คน แต่ด้วยที่โอกาสเกิดโรคน้อย ทำให้เราหาผู้ป่วยได้เพียง 20 คน แบบนี้ ก็ไม่สามารถทำวิจัยได้เลยเพราะ กลุ่มตัวอย่างไม่เพียงพอ ใช่หรือไม่ | |
A: |
การคำนวณขนาดตัวอย่างจะต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และผลที่ต้องการวัด ดังนั้นขนาดตัวอย่างจึงเป็นกรอบให้ผู้วิจัยทราบว่าจะต้องเก็บข้อมูลจากผู้เข้าร่วมวิจัยจำนวนมากเพียงใด ผลการวิจัยจึงจะมีนัยสำคัญทางสถิติและน่าเชื่อถือ เมื่อได้มีการคำนวณขนาดตัวอย่างและมีการวางแผนการวิจัยที่ดีแล้วก็จะได้รับการรับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมฯ ให้ดำเนินการวิจัยได้ แล้วค่อยๆทะยอยรับผู้ที่มีคุณสมบัติตรงตามเกณฑ์การคัดเลือก ไม่ได้หมายความว่าจะต้องรวบรวมกลุ่มเป้าหมายให้ครบตามจำนวนก่อนหากรวบรวมไม่ได้ครบจะดำเนินการวิจัยไม่ได้ ในกรณีที่กลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มที่หายาก ผู้วิจัยดำเนินการมานานตามระยะ |
เวลาที่ได้รับการรับรองแล้ว แต่ยังรวบรวมผู้เข้าร่วมวิจัยไม่ได้เท่าที่คำนวณไว้ ก็สามารถแจ้งคณะกรรมการจริยธรรมเพื่อขยายเวลาในการทำวิจัยได้ หรือในกรณีที่หาผู้เข้าร่วมวิจัยไม่ได้ครบจริงๆ ก็สามารถวิเคราะห์ผลการวิจัยไปตามจำนวนที่รวบรวมได้ โดยความน่าเชื่อถือของผลการวิจัยจะลดลง |
โปรดพิจารณาให้ความอนุเคราะห์ทำแบบประเมินเพื่อสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อการให้บริการของศูนย์ส่งเสริมจริยธรรมการวิจัย เพื่อนำผลการประเมินไปพัฒนาปรับปรุงแก้ไขงานให้มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง