Q:  

งานวิจัยเชิงทดลองขนาดเล็กในโรงพยาบาล ที่แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ที่พบมักจะจับฉลากแบ่งกลุ่ม หรือไม่ก็ใช้ช่วงเวลา คือช่วงแรกจะเก็บข้อมูลกลุ่มควบคุมทั้งหมด เมื่อครบจำนวนแล้ว ก็จะเก็บกลุ่มทดลองต่อ อาจารย์มีความคิดเห็นอย่างไร และมีคำแนะนำอย่างไร

A:  

การแจกแจงผู้เข้าร่วมวิจัยเข้ากลุ่มที่ได้รับการปฏิบัติที่แตกต่างกัน เป็นกระบวนการที่สำตัญมาก หากไม่มีการวางแผนที่ดี จะเกิดอคติ ซึ่งส่งผลต่อผลการวิจัยได้เป็นอย่างมาก ดังนั้น ผู้วิจัยควรเลือกใช้วิธีการเพื่อลดอคติ เช่นการใช้ random number โดยผู้ที่ทราบว่าผู้เข้าร่วมวิจัยรายใดจะได้รับการปฏิบัติอย่างไร จะต้องการไม่เกี่ยวข้องในการให้ intervention กับผู้ร่วมวิจัย, ไม่เป็นผู้วัดผลและวิเคราะห์ผลการวิจัย หากมีหน่วยงานที่ไม่ใช่คณะผู้วิจัยมาช่วยเหลือในการจัดคนเข้าสู่กลุ่มต่างๆโดยการทำรหัสที่จะเปิดเผยแก่ผู้วิจัยเมื่อสิ้นสุดการวิจัยแล้ว ว่าผู้เข้าร่วมวิจัยรายใดเข้ากลุ่มใดก็จะยิ่งดีมาก โดยหลักการคือ โอกาสที่ผู้วิจัยแต่ละคนจะถูกจัดเข้ากลุ่มใด จะเป็นสัดส่วนที่คงที่ตลอดการวิจัย

      

การจับฉลาก หรือการใช้ช่วงเวลาจะเกิดข้อด้อย ดังนี้

      

การจับฉลาก

      

  หากทำฉลากเท่ากับจำนวนขนาดตัวอย่างที่คำนวณได้แบ่งตามจำนวนกลุ่ม แล้วหยิบออกทีละใบโอกาสที่ผู้เข้าร่วมวิจัยแต่ละคนจะถูกจัดเข้ากลุ่มจะแปรเปลี่ยนไปตามฉลากที่ถูกจับออก ไม่เป็นสัดส่วนที่เท่ากันตลอด และผู้ที่ได้ฉลากใบสุดท้ายจะไม่มีโอกาสเลือก

      

  หากทำฉลากเฉพาะกลุ่ม เช่น A กับ B แล้วใส่ฉลากคืนกลับที่เดิมภายหลังการจัดคนเข้ากลุ่ม จำนวนคนที่เข้าสู่กลุ่มหนึ่ง อาจไม่เท่ากับอีกกลุ่มหนึ่ง เช่น จับได้ A มากกว่า B เป็นต้น (โอกาสเช่นนี้ เหมือนกับการโยนเหรียญ โอกาสที่จะออกหัว หรือออกก้อย เท่ากันทุกครั้ง แต่จำนวนที่ออกหัวหรืออกก้อยอาจไม่เท่ากัน)

      

การใช้ช่วงเวลา เช่น รับกลุ่มควบคุมในช่วงเวลาหนึ่งจนครบแล้วค่อยรับกลุ่มทดลอง มีโอกาสเกิดอคติได้อย่างมาก เพราะผู้วิจัยทราบว่ารายใดเข้ากลุ่มใด อีกทั้งคุณสมบัติที่เข้าในแต่ละกลุ่มอาจไม่สม่ำเสมอ เนื่องจากขึ้นกับคนที่มาในเวลาต่างๆ อาจแตกต่างกัน

 
 

โปรดพิจารณาให้ความอนุเคราะห์ทำแบบประเมินเพื่อสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อการให้บริการของศูนย์ส่งเสริมจริยธรรมการวิจัย เพื่อนำผลการประเมินไปพัฒนาปรับปรุงแก้ไขงานให้มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง