Q:  

กรณีที่ทำวิจัยกับผู้ป่วยที่เลิกสารเสพติดได้ ควรให้อาสาสมัครลงนามใน consent form ไหม กรณีทำวิจัยเชิงคุณภาพ

A:  

การดำเนินการวิจัยกับกลุ่มเปราะบางจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องขอความยินยอมให้เข้าร่วมวิจัยด้วยความสมัครใน แต่การแสดงความยินยอมเข้าร่วมวิจัยมีได้หลายรูปแบบ ไม่จำเป็นต้องลงนามในเอกสารเสมอไป อาจแสดงความยินยอมโดยการบอกกล่าว (Verbal consent) หรือแสดงความยินยอมโดยการปฏิบัติตามสิ่งที่ผู้วิจัยขอให้กระทำ (imply consent/ consent by action) เช่น ตอบแบบสอบถาม เป็นต้น การยกเว้นการลงนามในหนังสือแสดงเจตนายินยอมเข้าร่วมวิจัย-เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน ที่จะเป็นผู้ลงมติและให้การรับรอง ผู้วิจัยอาจเสนอขอยกเว้นการลงนามได้โดยให้เหตุผลประกอบ แต่ไม่อาจยกเว้นการลงนามในหนังสือแสดงเจตนายินยอมได้โดยพลการโดยการตัดสินใจของผู้วิจัยเอง

     

ในกรณีจะยกเว้นการลงนามในหนังสือแสดงความยินยอมฯ สำหรับกลุ่มเปราะบาง จะกระทำได้หากการลงนามจะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อผู้เข้าร่วมวิจัย เช่น เป็นหลักฐานในการสืบหาตนตัวของผู้เข้าร่วมวิจัย คณะกรรมการจริยธรรมฯ จะให้คำแนะนำให้ยกเว้นการลงนาม แต่จะต้องขอความยินยอมด้วยวิธีอื่น และจะต้องให้ข้อมูลแก่ผู้เข้าร่วมวิจัยให้ครบถ้วน เช่นเดียวกับการขอความยินยอมด้วยการลงนาม ซึ่งผู้วิจัยอาจทำเอกสารชี้แจงมอบให้ผู้เข้าร่วมวิจัยด้วยข้อความครบถ้วนเช่นเดียวกับการขอความยินยอมด้วยการลงนาม

     

CIOMS 2016 guideline 9 “Such waivers may also be approved when existence of a signed consent form might pose a risk to the participant, for example in studies involving illegal

     

behavior. In some cases, especially when the information is complicated, participants should be given information sheets to retain; these may resemble conventional sheets in all respects except that participants are not required to sign them.”

 
 

โปรดพิจารณาให้ความอนุเคราะห์ทำแบบประเมินเพื่อสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อการให้บริการของศูนย์ส่งเสริมจริยธรรมการวิจัย เพื่อนำผลการประเมินไปพัฒนาปรับปรุงแก้ไขงานให้มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง