Q:  

การวิจัยเรื่องสุขภาพจิตของนักเรียนอายุ 15 - 19 ปี จำเป็นต้องขอคำยินยอมจากผู้ปกครองหรือไม่

A:  

กรณีที่ผู้เข้าร่วมวิจัยอายุต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ จะต้องขอความยินยอมจากผู้ปกครองเสมอ แต่อาจมีข้อยกเว้นที่จะไม่ขอความยินยอมจากผู้ปกครองในกรณีที่การขอความยินยอมอาจทำให้เกิดอันตรายต่อผู้เยาว์ที่เข้าร่วมวิจัย เช่นการถูกทำโทษ หรือการขอความยินยอมให้เข้าร่วมวิจัยในบางเรื่องที่ผู้ปกครองรับไม่ได้ว่าบุตรหลานของตนมีพฤติกรรมเช่นนั้น จะกระทบความสัมพันธ์ในครอบครัว ซึ่งเป็นอันตรายต่อจิตใจของสมาชิกในครอบครัว

      

CIOMS จึงแนะนำกรณีที่สามารถยกเว้นการขอความยินยอมจากพ่อแม่ผู้ปกครองของเด็กที่จะเข้าร่วมวิจัยไว้ ได้แก่

      

กรณีที่เด็กแม้จะอายุต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ แต่แยกมาดำรงชีวิตด้วยตนเอง มีครอบครัวของตนเองแล้ว

      

การวิจัยเป็นเรื่องอ่อนไหว เช่น ความเชื่อและพฤติกรรมทางเพศ, โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์, การตั้งครรภ์, การแท้ง, ความรุนแรงในครอบครัว, พฤติกรรมรุนแรงที่ทำกับเด็ก, การใช้สารเสพติด เป็นต้น

      

(อ้างอิง CIOMS 2016 guideline17 หัวข้อย่อย Waiver of parental permission:

      

“emancipated” or “mature” minors and are authorized to consent without the agreement or even the awareness of their parents or guardians. They may be married, pregnant or be

      

parents themselves, or they may live independently.

      

studies involve investigation of adolescents’ beliefs and behavior regarding sexuality or use of recreational drugs. Research may also address domestic violence, sexually transmitted diseases, pregnancy, abortion, or child abuse.)

 
 

โปรดพิจารณาให้ความอนุเคราะห์ทำแบบประเมินเพื่อสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อการให้บริการของศูนย์ส่งเสริมจริยธรรมการวิจัย เพื่อนำผลการประเมินไปพัฒนาปรับปรุงแก้ไขงานให้มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง