Google

www    sp.mahidol.ac.th

มหิดล, มหาวิทยาลัยมหิดล, จริยธรรม, การวิจัยในคน, จริยธรรมการวิจัยในคน, mahidol, Ethic, Research, Human research
 
มหิดล, มหาวิทยาลัยมหิดล, จริยธรรม, การวิจัยในคน, จริยธรรมการวิจัยในคน, mahidol, Ethic, Research, Human research
 
มหิดล, มหาวิทยาลัยมหิดล, จริยธรรม, การวิจัยในคน, จริยธรรมการวิจัยในคน, mahidol, Ethic, Research, Human research
 
 
                           
 
 
 
 
     
     
           การให้ความรู้เป็นพันธกิจหลักอย่างหนึ่งของมหาวิทยาลัย การให้ความรู้ด้านจริยธรรมการวิจัยในคนก่อให้เกิด
    ความตระหนักในหน้าที่ของผู้เกี่ยวข้องโดยเฉพาะนักวิจัย ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญในการพิทักษ์สิทธิ์และสวัสดิภาพ
    ของผู้เข้าร่วมการวิจัย นอกเหนือจากปัจจัยร่วมอื่นๆ เช่น การกำหนดนโยบายของผู้บริหาร และการกำกับดูแลจาก
    คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน
 
     
     
     
    แผนการเผยแพร่ความรู้ด้านจริยธรรมการวิจัยในคนของศูนย์ฯ มีดังนี้  
     
     
     กิจกรรมหลักที่จัดเป็นประจำ  
     
          1. การจัดประชุมเชิงปฏิบัติ เรื่อง จริยธรรมการวิจัยในคน ระยะเวลา 1 วัน ปีละ 4 ครั้ง
           สำหรับอาจารย์/นักวิจัยทั้งภายในมหิดล และ สถาบันอื่น
 
         สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์ (Social science & Behavioral Research) ปีละ 2 ครั้ง ในเดือนมีนาคม
             และ กรกฎาคม
 
         สำหรับการวิจัยทางชีวการแพทย์ (Biomedical Research) ปีละ 2 ครั้ง ในเดือนเมษายน และ กันยายน
 
     
    จำนวนกลุ่มละ 50 คน
 
    กิจกรรมประกอบด้วย การบรรยายจากวิทยากรในภาคเช้า และแบ่งกลุ่มย่อยเพื่อฝึกอภิปรายกรณีศึกษาในภาคบ่าย
 
    ผู้เข้าร่วมการประชุมจะได้รับประกาศนียบัตรรับรองความรู้จากการเข้าร่วมการอบรม เมื่อเข้าร่วมกิจกรรม
  ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของเวลาที่จัด
 
    ค่าลงทะเบียน 600 บาท  
     
          2. การอบรมเรื่อง “แนวทางการปฏิบัติการวิจัยทางคลินิกที่ดี ตามแนวทางของ International Conference
           on Harmonization - Good Clinical Practice (ICH-GCP)” ระยะเวลา 1 วัน ปีละ 1 ครั้ง

           ในเดือน กุมภาพันธ์ สำหรับอาจารย์/นักวิจัยทั้งภายในมหิดล และ สถาบันอื่น
 
     
             สำหรับผู้ที่จะทำงานวิจัยทางคลินิกโดยใช้ยา หรือเวชภัณฑ์ ทั้งชนิดใหม่ที่มีการนำเข้ามาในราชอาณาจักร            โดยไม่ต้องขอขึ้นทะเบียนตำรับยา หรือ ขึ้นทะเบียนแล้วจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวง
           สาธารณสุขของไทย
 
     
    จำนวนกลุ่มละ 80 คน
 
    กิจกรรมประกอบด้วย การบรรยายจากวิทยากรตลอดทั้งวัน
 
    ผู้เข้าร่วมการประชุมจะได้รับประกาศนียบัตรรับรองความรู้จากการเข้าร่วมการอบรม เมื่อเข้าร่วมกิจกรรม
  ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของเวลาที่จัด
 
    ค่าลงทะเบียน 600 บาท  
     
          3. การอบรมเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน เรื่อง "การบริหารจัดการข้อมูลโครงการ
           วิจัยในคน" (IRB Staff Training)

           สำหรับเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคนทั้งภายในมหิดล และ สถาบันอื่น
 
     
             การอบรมเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน เรื่อง "การบริหารจัดการข้อมูลโครงการ
           วิจัยในคน" (IRB Staff Training) ระยะเวลา 2 วัน ปีละ 3 ครั้ง ในเดือน มกราคม เมษายน และ พฤศจิกายน            สำหรับเจ้าหน้าที่ในสำนักงานคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน (IRB Staff)
 
     
    จำนวนกลุ่มละ 20-30 คน
 
    กิจกรรมประกอบด้วย การบรรยายและแบ่งกลุ่มย่อยเพื่อศึกษาดูงานของเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการจริยธรรม
  การวิจัยในคนชุดกลาง มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อให้มีความรู้เชิงลึก และสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง
 
    ผู้เข้าร่วมการประชุมจะได้รับประกาศนียบัตรรับรองความรู้จากการเข้าร่วมการอบรม เมื่อเข้าร่วมกิจกรรม
  ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของเวลาที่จัด
 
    ค่าลงทะเบียน 2,000 บาท  
     
     กิจกรรมที่จัดเป็นครั้งคราว Human Research Ethics Forum  
     
         การวิจัยเกี่ยวกับการใช้สมุนไพร  
         Ethical Issue in Secondary Data Analysis  
         Sample size calculation  
         Experience in US FDA Inspection  
     
             นอกจากนี้ ศูนย์ MU CERif ยังมีการจัดกิจกรรมทางวิชาการร่วมกับส่วนงานอื่น เช่น คณะแพทยศาสตร์
           ศิริราชพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย และ สถาบันอื่น เช่น มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
           พระจอมเกล้าธนบุรี เป็นต้น
 
     
     กิจกรรมที่จัดร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล  
     
         Biobanking  
         Clinical Trial Registry – TCTR  
         กิจกรรมสำหรับนักศึกษาแพทย์ “เพาะต้นกล้านักวิจัย หัวใจจริยธรรม”  
     
       กิจกรรมที่จัดร่วมกับบัณฑิตวิทยาลัย  
     
         ร่วมพัฒนาและร่วมสอนในรายวิชา “จริยธรรมการวิจัย” บฑคร 521 1 หน่วยกิต เปิดสอนภาคการศึกษาละ
              1 ครั้ง รวมปีการศึกษาละ 3 ครั้ง (ภาคต้น - ภาคปลาย สอนภาษาไทย และ ภาคฤดูร้อนสอน
              ภาษาอังกฤษ)
 
         Workshop in Human Research Ethics for Advisors ปีละ 1-2 ครั้ง  
     
             นอกจากนี้ ยังได้พัฒนา website ของ MU CERif ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ ซึ่งผู้เข้าชมจะได้ศึกษาด้วยตนเอง            จากสื่อสารสนเทศ ได้แก่  
     
 
        The Collaborative Institutional Training Initiative (CITI Program) ถูกจัดทำขึ้นโดย
  มหาวิทยาลัยไมอามี่ ท่านสามารถเข้าศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองได้ ทั้งนี้มีผู้เข้าใช้บริการนับล้าน
  จากหลายสถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐและองค์กรธุรกิจในสหรัฐอเมริกาและทั่วโลก
 
     
 
          เรียนรู้กรณีศึกษาด้านจริยธรรมการวิจัยในคนและทำแบบทดสอบวัดความรู้ด้าน
   จริยธรรมการวิจัยในคนได้ด้วยตนเอง
 
     
 
 
     ศูนย์ส่งเสริมจริยธรรมการวิจัยในคน
 
       สำนักงานอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล เลขที่ 999 ถนนพุทธมณฑลสาย 4 ต.ศาลายา
       อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม 73170 โทร. 02-849-6220, 6223 โทรสาร 02-849-6223
     สงวนสิทธิ์ © 2557 ศูนย์ส่งเสริมจริยธรรมการวิจัยในคน สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล.