|
|
|
|
|
|
|
|
มหาวิทยาลัยมหิดลซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ มีการดำเนินการวิจัยเป็นจำนวนมากและ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงได้จัดตั้งศูนย์ส่งเสริมจริยธรรมการวิจัยในคนขึ้นเป็นหน่วยงานหนึ่งในสำนักงานอธิการบดี เมื่อ 16 มีนาคม 2554 เพื่อให้การกำกับดูแลและส่งเสริมให้โครงการวิจัยที่ดำเนินการกับคน หรือใช้สิ่งส่งตรวจที่มาจากคน (ซึ่งสามารถเจาะจงระบุถึงตัวบุคคลที่เป็นเจ้าของสิ่งส่งตรวจได้ เช่น เลือด, สารคัดหลั่ง, ชิ้นเนื้อ และอื่นๆ) หรือการศึกษาโดยใช้ข้อมูลเฉพาะบุคคลที่ทราบว่าข้อมูลนั้นเป็นของผู้ใด ที่ดำเนินการในความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นไปอย่างถูกต้องตามหลักจริยธรรมการวิจัยในคนตามมาตรฐานสากล เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่สังคมว่า ผู้เข้าร่วมการวิจัยในมหาวิทยาลัยมหิดลจะได้รับการพิทักษ์สิทธิ์และสวัสดิภาพ ซึ่งจะส่งผลให้ผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดลเป็นที่ยอมรับและสามารถตีพิมพ์เผยแพร่แก่สาธารณะได้ ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมอย่างแท้จริง |
|
|
|
|
|
ศูนย์ส่งเสริมจริยธรรมการวิจัยในคน มีหน้าที่ดังต่อไปนี้ |
|
|
|
|
|
|
|
|
1. พัฒนานโยบายเพื่อการกำกับดูแลโครงการวิจัยในคน ภายใน |
|
มหาวิทยาลัยมหิดล ด้วยการสนับสนุนให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการ |
จริยธรรมการวิจัยในคนประจำส่วนงานขึ้น ในส่วนงานที่มีศักยภาพ |
เพียงพอเพื่อให้ สามารถกำกับดูแลโครงการวิจัยได้อย่างใกล้ชิดโดย |
กำหนดองค์ประกอบและแนวทางการดำเนินงานของคณะกรรมการ |
จริยธรรมการวิจัยในคนประจำส่วนงาน ให้มีมาตรฐานเดียวกันทั่วทั้ง |
มหาวิทยาลัย สำหรับส่วนงานที่ไม่ได้จัดตั้งคณะกรรมการจริยธรรม |
|
|
|
การวิจัยในคน จะได้รับการกำกับดูแลจากคณะกรรมการกลางของมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นหน่วยงานย่อยของศูนย์ส่งเสริม |
|
|
จริยธรรมการวิจัยในคน และส่งเสริมให้มีความร่วมมือระหว่างคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน ในการกำกับดูแล |
|
|
โครงการวิจัยประเภทพหุสถาบัน (Multicenter study) ที่ดำเนินการร่วมกันหลายส่วนงานภายในมหาวิทยาลัยมหิดล |
|
|
|
|
|
|
|
|
2. เผยแพร่ความรู้ด้านจริยธรรมการวิจัยในคน เพื่อให้นักวิจัยมีความรู้ความเข้าในหลักเกณฑ์ทางจริยธรรม |
|
|
การวิจัยในคนสร้างความตระหนักในหน้าที่ของนักวิจัยที่จะให้ความเคารพ พิทักษ์สิทธิและสวัสดิภาพของผู้เข้าร่วมวิจัย |
|
|
|
|
|
|
|
|
3. พัฒนาระบบการดำเนินงานของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคนประจำส่วนงาน ที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้กับ |
|
|
มหาวิทยาลัยด้วยการเยี่ยมสำรวจเพื่อการประกันคุณภาพการดำเนินงานของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน |
|
|
ประจำส่วนงานทุก 3 ปี |
|
|
|
|
|
|
|
|
4. ศูนย์กลางการประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภายใน และภายนอกมหาวิทยาลัยมหิดล |
|
|
ด้วยการจัดประชุมคร่อมสายงานระหว่างคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคนประจำส่วนงานอย่างสม่ำเสมอ |
|
|
ติดตามรวบรวมผลการดำเนินงานประจำปีของทุกคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคนนำเสนอต่อผู้บริหารเพื่อ |
|
|
เป็นข้อมูลในการวางแผนพัฒนา และเป็นผู้แทนของมหาวิทยาลัยมหิดลในการติดต่อกับหน่วยงานอื่น เช่น |
|
|
ชมรมจริยธรรมการวิจัยในคนในประเทศไทย เป็นต้น |
|
|
|
|
|
|
|