|
|
|
|
|
|
|
|
มหาวิทยาลัยมหิดลได้ประกาศนโยบายในการกำกับดูแลโครงการวิจัยในคน ตั้งแต่ พ.ศ. 2551 ซึ่งมีสาระสำคัญดังนี้ |
|
|
|
|
|
|
|
|
สนับสนุนให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคนขึ้นในส่วนงานต่างๆ ที่มีความพร้อม |
|
เพื่อมอบอำนาจให้กำกับดูแลโครงการวิจัยในคนที่ส่วนงานเกี่ยวข้อง โดยกำหนดองค์ประกอบของ |
|
คณะกรรมการจริยธรรมฯ และกรอบแนวทางการดำเนินงานของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัย |
|
ในคนที่จัดตั้งขึ้น ให้มีมาตรฐานเดียวกันทั่วทั้งมหาวิทยาลัย |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ในการจัดตั้งคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน หัวหน้าส่วนงานจะเป็นผู้แจ้งขึ้นทะเบียนต่อ |
|
อธิการบดี |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
โครงการวิจัยในคนของส่วนงานที่ไม่ได้จัดตั้งคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน จะได้รับการ |
|
กำกับดูแลจากคณะกรรมการกลางของมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นหน่วยงานย่อยของศูนย์ส่งเสริม |
|
จริยธรรมการวิจัยในคน มีสำนักงานอยู่ที่อาคารสำนักงานอธิการบดี |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
โครงการวิจัยในคนทุกโครงการจะต้องได้รับการพิจารณาทบทวน และได้รับการรับรองจาก |
|
คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคนก่อนเริ่มดำเนินการ ในกรณีที่โครงการวิจัยมีความซับซ้อน |
|
นักวิจัยสามารถเข้าชี้แจงเพิ่มเติมกับคณะกรรมการจริยธรรมฯ หรือคณะกรรมการจริยธรรมฯ อาจ |
|
เชิญนักวิจัยมาให้ข้อมูลเพิ่มเติมได้ |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
นักวิจัยจะต้องดำเนินงานวิจัยตามโครงร่างที่ได้รับการรับรอง ในกรณีที่นักวิจัยไม่เห็นพ้องกับมติ |
|
ของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน นักวิจัยสามารถอุทธรณ์และชี้แจงเหตุผลประกอบได้ |
|
หากนักวิจัยต้องการปรับเปลี่ยนวิธีการวิจัยภายหลังจากที่ได้รับการรับรองแล้วจะต้องแจ้งให้ |
|
คณะกรรมการจริยธรรมฯ ทราบและรับรองทุกครั้ง |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน จะติดตามกำกับดูแลโครงการวิจัยที่ให้การรับรองไปจนกว่า |
|
โครงการวิจัยจะแล้วเสร็จ โดยนักวิจัยจะต้องส่งรายงานความก้าวหน้าของโครงการวิจัยตามกำหนด |
|
อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง รายงานเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นระหว่างการวิจัย และแจ้งปิด |
|
โครงการวิจัยเมื่อแล้วเสร็จ |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
เมื่อมีการจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมจริยธรรมการวิจัยในคน (Center of Ethical Reinforcement for Human Research – MU CERif) ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2554 คณะกรรมการอำนวยการของศูนย์ฯ ซึ่งมีอธิการบดีเป็นประธานจึงได้ทำหน้าที่กำกับดูแลโครงการวิจัยในคน ให้เป็นไปตามประกาศนี้ โดยศูนย์ส่งเสริมจริยธรรมการวิจัยในคนทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงาน ด้วยการจัดประชุมเพื่อถ่ายทอดนโยบายไปยังประธานฯ คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน เลขานุการ และเจ้าหน้าที่สายสนับสนุนของทุกคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคนอย่างสม่ำเสมอ อีกทั้งยังทำหน้าที่ในการรวบรวมข้อมูลจากทุกคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน มานำเสนอต่อคณะกรรมการอำนวยการของศูนย์ฯ เพื่อการสื่อสาร 2 ทางให้สามารถพัฒนานโยบายในการกำกับดูแลโครงการวิจัยในคน ได้สอดคล้องกับเกณฑ์สากล |
|
|
|
|